เมนู

เหมือนถูกนำมาทิ้งไว้ คือวางไว้. บทว่า อปายํ เป็นต้นทั้งหมด เป็นคำ
ไวพจน์ของนรก. จริงอยู่ นรกปราศจากความสุข คือความเจริญ
จึงชื่อว่าอบาย. ภูมิเป็นที่ไป คือเป็นที่แล่นไปแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่าทุคคติ. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ที่บุคคลผู้มักทำชั่วตกไป
ไร้อำนาจ. ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่าไม่มีดุจที่น่ายินดี.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปสนฺนํ ได้แก่ ผ่องใสโดยความผ่องใสด้วยศรัทธา.
บทว่า สุคตึ ได้แก่ภูมิเป็นที่ไปแห่งสุข. บทว่า สคฺคํ โลกํ ได้แก่
โลกอันเลอเลิศด้วยสมบัติมีรูปสมบัติเป็นต้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุทกรหโท แปลว่า ห้วงน้ำ. บทว่า อาวิโล ได้แก่
ไม่ใส่. บทว่า ลุฬิโต ได้แก่ไม่สะอาด. บทว่า กลลีภูโต แปลว่า
มีเปือกตม.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สิปฺปิสมฺพุกํ เป็นต้นดังต่อไปนี้ :-
หอยโข่งและหอยกาบ ชื่อว่าสิปปิสัมพุกะ ก้อนกรวด และกระเบื้อง
ชื่อว่า สักขรกถละ. ฝูงคือกลุ่มแห่งปลาทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า
มัจฉคุมพะ ฝูงปลา. บทว่า จรนฺตมฺปิ ติฏฺฐมฺปิ นี้มีอธิบายว่า ก้อน
กรวดและกระเบื้องหยุดอยู่อย่างเดียว นอกนี้ หยุดอยู่ก็มี ว่ายไปก็มี
เหมือนอย่างว่า ระหว่างแม่โค ที่ยืนอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี
โคนอกนั้น ก็ถูกเรียกว่าเที่ยวไป เพราะอาศัยโคตัวที่กำลังเที่ยวไปว่า
โคเหล่านี้เที่ยวไปอยู่ฉันใด ก้อนกรวดและกระเบื้องทั้งสองแม้นอกนี้
เขาเรียกว่า หยุด เพราะอาศัยก้อนกรวดและกระเบื้องที่หยุด แม้
ก้อนกรวดและกระเบื้องที่เขาเรียกว่าว่ายไป ก็เพราะอาศัยฝูงปลา
ซึ่งกำลังว่ายไปฉันนั้น. บทว่า อาวิเลน ได้แก่ ถูกนิวรณ์ 5 หุ้มห่อ
ไว้. ประโยชน์ของตนอันคละกันทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. อัน
เป็นไปในปัจจุบัน ชื่อว่า ประโยชน์ของตน ในคำมีอาทิว่า อตฺตตฺถํ
วา ประโยชน์ของตน ที่คละกันทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. ใน
สัมปรายภพ ชื่อว่า ประโยชน์ภายหน้า แม้ประโยชน์ภายหน้า ชื่อว่า
ปรัตถะ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ของบุคคลอื่น. ประโยชน์
ทั้ง 2 นั้น ชื่อว่า อุภยัตถะประโยชน์ทั้ง 2. อีกอย่างหนึ่ง ประโยชน์
ส่วนโลกิยะและโลกุตตระ ที่เป็นไปในปัจจุบัน และสัมปรายภพ
ของตน ชื่อว่าประโยชน์ตน. ประโยชน์เช่นนั้นนั่นแลของผู้อื่น ชื่อว่า
ประโยชน์ของผู้อื่น. แม้ประโยชน์ทั้ง 2 นั้น ก็ชื่อว่า อุภยัตถะ
ประโยชน์ทั้ง 2.
บทว่า อุตฺตรึ วา มนุสฺสธมฺมา ได้แก่ อันยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์ กล่าวคือ กุศลกรรมบถ 10 ประการ. จริงอยู่ ธรรม 10

ประการนี้ แม้ไม่มีคนอื่นชักชวน ท่านก็เรียกว่ามนุษยธรรม เพราะ
เป็นธรรมที่มนุษย์ ผู้เกิดความสังเวช มาทานด้วยตนเองในท้าย
แห่งสันถันตรกัปป์ (กัปป์ที่ฆ่าฟันกันด้วยศาตราวุธ). แต่ฌานและ
วิปัสสนา มรรคและผล พึงทราบว่า ยิ่งไปกว่ามนุษยธรรมนั้น.
บทว่า อลมริยญาณทสสฺนวิเสสํ ความว่า คุณวิเสสกล่าวคือ
ญาณทัสสนะ อันควรแก่พระอริยะทั้งหลาย หรือที่สามารถทำให้
เป็นอริยะ. จริงอยู่ ญาณนั่นแล พึงทราบว่า ญาณเพราะอรรถว่า
รู้ ว่าทัสสนะ เพราะอรรถว่า เห็น. คำว่าอลมริยญาณทสฺสนวิเสสํ
นี้เป็นชื่อของทิพพจักขุญาณ วิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
และปัจจเวกขณญาณ.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 6



ในสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อจฺโฉ แปลว่า ไม่มีมลทิน. บาลีว่า ปสนฺโน (ใส)
ดังนี้ก็ควร. บทว่า วิปฺปสนฺโน แปลว่าใสดี. บทว่า อนาวิโล แปลว่า
ไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า บริสุทธิ์. ท่านอธิบายไว้ว่า เว้นจากฟองน้ำ
สาหร่าย และจอกแหน. บทว่า อนาวิเลน ได้แก่ ปราศจากนิวรณ์ 5.
คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรที่ 4 นั่นแล. ในสูตรทั้ง 2 นี้
ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะ ทั้งวิวัฏฏะนั่นแล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 6